วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2559

สมเด็จเนื้อผง "กำจัดภัย"


สมเด็จกำจัดภัยเนื้อผง รุ่นแรก เป็นพระสมเด็จที่หลวงพ่อกำจัดสร้างขึ้นและปลุกเสกพร้อมกับเหรียญนั่งพานขณะที่ท่านยังจำพรรษาอยู่ที่ จ.ลพบุรี เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2534


และเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2551 ที่วัดป่าสักได้มีการก่อสร้างเจดีย์ราย หลวงพ่อจึงต้องการทุนทรัพย์ในการจัดสร้างจึงได้นำสมเด็จกำจัดภัยรุ่นนี้ออกมาจำหน่ายอีกครั้ง โดยการปั๊มตายางสีแดงที่เป็นลายเซนต์ของหลวงพ่อกำจัดที่ด้านหลังขององค์พระสมเด็จซึ่งมีประมาณ 100 องค์

วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2559

หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก จ.ชัยนาท


        พระครูสุจิตตสังวรคุณ หรือที่ศิษยานุศิษย์และชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า "หลวงพ่อกำจัด" ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสัก (ธ) และดำรงตำแหน่งในทางปกครองคณะสงฆ์เป็นเจ้าคณะอำเภอจังหวัดชัยนาท ฝ่ายธรรมยุตินิกาย
        ท่านเกิดเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2503 ที่บ้านวังนาก อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย โยมพ่อเป็นชาวอำเภอภาชี จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โยมแม่เป็นชาวตำบลห้วยกรดพัฒนา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
        หลวงพ่อกำจัดได้อุสมบทเมื่อปี พ.ศ. 2526 ณ วัดดงหมี อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก และได้จำพรรษาอยู่ ณ วัดดงหมี เป็นเวลาหลายพรรษา จนสอบไล่ได้นักธรรมชั้นเอก ต่อมาเมื่อปี 2537 ได้ญัตติกรรมเป็นพระภิกษุในสายธรรมยุติ ณ วัดเทพกุญชรวราราม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี โดยมีพระมงคลธรรมภาณี (หลวงปู่มัง ศิษย์หลวงปู่มั่น หลวงปู่อ่ำ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดลพบุรีเป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าอาวาสวัดเทพกุญชรวราราม หลวงพ่อกำจัดท่านได้ศึกษากรรมฐานตลอดจนพุทธาคมกับหลวงปู่มังจนมีภูมิรู้ภูมิธรรมตามสมควรแล้วจึงได้ออกเดินธุดงค์จากจังหวัดลพบุรีมาถึงที่หลังวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชัยนาท ท่านจึงได้หยุดพักปักกลดบริเวณทุ่งนาที่เป็นป่าสักซึ่งเป็นที่ดินของ นายสมาน - นางอารีย์ ภูมิเมือง ต่อมาได้มีโยมยุพิน อมาตยกุล มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวาย จำนวน 12 ไร่ หลวงพ่อจึงได้เริ่มสร้างวัด และถาวรวัตถุต่างๆ พร้อมกับดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดป่าสักรูปแรก หลวงพ่อท่านมีลูกศิษย์มากมายและได้สร้างวัตถุมงคลไว้หลายรุ่น จนเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่นักสะสมพระเครื่อง และวัตถุมงคล

วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2559

เหรียญเสมาหลังวิหารตะกรุด หลวงพ่อกำจัด วัดป่าสัก


เหรียญเสมาหลังตะกรุด ออกวันเกิด 9 กันยายน 2558
        1.ชุดกรรมการ มี 59 ชุด ภายในมีเหรียญอยู่ 5 เหรียญดังนี้
           -เหรียญเงินหลังเรียบจารมือ
           -เหรียญตะกั่วหลังเรียบจารมือ
           -เหรียญทองแดงชุบเงิน
           -เหรีญทองแดงชุบทอง
           -เหรียญทองแดง
        2.เหรียญเงินลงยาน้ำเงิน-แดง-เขียว มีสีละ 59 เหรียญ
        3.เหรียญเงินลงยา 3 สี มี 119 เหรียญ
        4.เนื้อนวะหลังเต็ม มี 118 เหรียญ
        5.เนื้อนวะหลังเรียบจารมือ มี 59 เหรียญ
        6.เนื้อทองแดง มี 541 เหรียญ
        7.เนื้อทองแดงชุบเงิน มี 241 เหรียญ
        8.เนื้อทองแดงชุบทอง มี 241 เหรียญ
        9.เนื้อตะกั่วหลังเต็ม มี 359 เหรียญ